ตามที่เครือข่ายนักวิชาการจาก 10 มหาวิทยาลัย ร่วมกับสื่อมวลชน 10 สำนัก เปิดโหวต "เสียงประชาชน" ครั้งที่ 3 คำถาม "ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่ ส.ว.ควรเคารพเสียงประชาชน โดยโหวตเลือกนากยกรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากของ ส.ส."

สำนักเปิดโหวตมาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม2566 เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชนจึงขอแถลงผลการโหวต พร้อมกับข้อเสนอแนะต่อการจัดตั้งรัฐบาลและการเลือกนายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ดังต่อไปนี้

เลือกตั้ง 2566 : รายแรกมาแล้ว! “ส.ว.วุฒิพันธุ์” ประกาศหนุน“พิธา”

1. ผลการโหวตเสียงประชาชน: คำถามคือ "ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่ ส.ว.ควรเคารพเสียงประชาชน โดยโหวตเลือกนากยกรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากของ ส.ส." ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม ถึงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 มีการโหวตทั้งสิ้น 3,487,314 ครั้ง เห็นด้วย 2,951,048 เสียง คิดเป็น 84.62 เปอร์เซ็นต์ และไม่เห็นด้วย 536,266 เสียง คิดเป็น 15.38 เปอร์เซ็นต์

การโหวตเสียงประชาชนที่ได้ทำไปนี้ โดยหลักการคือการเปิดให้ประชาชนไม่ว่าฝ่ายใดได้ออกเสียงในประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจโดยผู้มีอำนาจหน้าที่ ซึ่งก็คือ การออกเสียงประชามติตามหลักการของ "ประชาธิปไตยโดยตรง" นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถทำได้โดยสะดวก ไม่สิ้นเปลือง และรู้ผลโดยรวดเร็ว ซึ่งรัฐบาลที่จะตั้งขึ้นมาบริหารประเทศนับจากนี้ไปควรพิจารณานำไปพัฒนาต่อไปในการให้ประชาชนเจ้าของประเทศได้มีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องราวต่างๆ ให้มากขึ้นและบ่อยขึ้น

2. ข้อเสนอแนะต่อ ส.ว. : การโหวตเสียงประชาชนที่ทำมาทั้ง 3 ครั้ง มีเป้าหมายประการเดียวคือ ให้ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจในเรื่องสาธารณะของประเทศ ได้รับฟังเสียงของประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศและเจ้าของงบประมาณของประเทศ สำหรับการโหวตเสียงประชาชนในครั้งนี้ ประเด็นคือเรื่องของการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของ ส.ว. ทั้งนี้เนื่องจาก ส.ว.มีอำนาจเท่ากับ ส.ส.ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และได้เงินเดือนและค่าตอบแทนเท่ากับ ส.ส. แต่ไม่ได้ถูกเลือกมาจากประชาชน และไม่ได้มีสัญญาประชาคมกับประชาชนว่าจะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี ดังเช่น ส.ส.ที่ได้กระทำในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง

ดังนั้น ส.ว.จึงยิ่งต้องฟัง "เสียงประชาชน" ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และไม่ควรทุ่มเถียงหรือเกี่ยงงอนกับประชาชน หรือบอกประชาชนไม่ให้กดดัน เพราะตำแหน่ง ส.ว.ไม่ได้ทำหน้าที่แบบให้เปล่าหรืออาสาสมัคร แต่มีเงินเดือนและค่าตอบแทนจากภาษีอากรของประชาชน และการเลือกนายกรัฐมนตรีก็มิใช่เรื่องส่วนบุคคล หรือกิจการส่วนตัวของ ส.ส. หากเป็นเรื่องส่วนรวม ที่ประชาชนเจ้าของประเทศย่อมมีสิทธิส่งเสียงได้ ทั้งนี้ในวิถีทางภายใต้กฎหมายและวิธีการที่เหมาะสมด้วย

 มาแล้ว! เสียงโหวตประชาชน 84.62% เห็นควรให้ ส.ว. โหวตเลือกนากยกฯ ตามเสียงข้างมาก ส.ส.

เลือกตั้ง 2566 : เปิดโหวตเสียงประชาชน #3 เห็นด้วยหรือไม่ ส.ว. ควรโหวตเลือกนายกฯ ตามเสียงข้างมากของ ส…

เลือกตั้ง 2566 : นศ.จุฬา-ธรรมศาสตร์ แสดงจุดยืน! บีบ ส.ว.เคารพเจตจำนงปชช.

3. การจัดตั้งรัฐบาลและการเลือกนายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา : ระบบรัฐสภาคือการให้ประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรีผ่านการเลือก ส.ส.และพรรคการเมือง พรรคใดได้เสียงข้างมากย่อมได้จัดตั้งรัฐบาล เพราะได้ฉันทานุมัติมาจากประชาชนจากการเลือกตั้ง ในกรณีที่ไม่มีพรรคใดได้ ส.ส.เกินครึ่ง ก็ต้องตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคอื่นที่มีแนวนโยบายไปในทางเดียวกัน โดยพรรคที่ได้ ส.ส.มากที่สุดจะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล

การตั้งรัฐบาลผสมซึ่งเป็นกรณีปกติของระบบรัฐสภา สิ่งที่พรรคที่จัดตั้งรัฐบาลพึงกระทำไม่ใช่เพียงแค่ตกลงหรือต่อรองกันในเรื่องการจัดสรรหรือแบ่งกระทรวง แต่ต้องเป็นการตกลงกันในเรื่องนโยบายที่หาเสียงไว้กับประชาชน นโยบายที่เหมือนกันก็นำมาเป็นนโยบายรัฐบาล นโยบายที่แตกต่างก็ต้องตกลงกันว่าจะปรับเข้าหากันให้เป็นนโยบายรัฐบาลได้อย่างไร หากมีนโยบายใดตกลงกันไม่ได้ก็ให้ไปหารือกันในสภาต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีนโยบายที่เห็นต่างกันมากหรืออาจจะสร้างความขัดแย้งแตกแยกได้มาก ก็อาจจะให้เป็นเรื่องการสร้างพื้นที่และเวทีในการหารือร่วมกันของสังคมก่อนดำเนินการ

4. "การหาเสียงครั้งที่สอง" ของพรรคที่ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล : การหาเสียงกับประชาชนได้เสร็จสิ้นไปแล้วโดยปรากฏเป็นผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยพรรคฝ่ายค้านเดิมหรือที่เรียกกันว่า ‘พรรคฝ่ายประชาธิปไตย’ ได้เสียงข้างมากรวมกันเกิน 300 เสียง โดยพรรคก้าวไกลที่ได้เสียงอันดับหนึ่งเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจากจำนวนเสียง 313 เสียงในขณะนี้นั้นมากเพียงพอในการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ ส.ว.ชุดแรกเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. ทำให้จำนวนเสียงที่ต้องใช้ในการเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งสองสภาซึ่งก็คือ 376 เสียง ซึ่งยังขาดอีก 63 เสียงจึงจะเป็นรัฐบาลได้

จากนี้ไปอีกประมาณ 60 วันที่จะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี จึงถือได้ว่าเป็น ‘การหาเสียงครั้งที่สอง’ พรรคที่กำลังจะเป็นรัฐบาลจะต้องไปหาเสียงต่อกับผู้เลือกนายกรัฐมนตรี ขณะนี้มี 313 เสียงแล้ว จึงขาดอีก 63 เสียง ซึ่งสามารถหาเสียงหรือขอเสียงได้ทั้งจาก ส.ส.ที่เหลือ และ ส.ว.อีก 250 คน โดยใช้นโยบายที่ตกลงกันได้ตามข้อ 3 เป็น ‘นโยบายว่าที่รัฐบาล’ ไปหาเสียงว่าเป็นรัฐบาลแล้วจะทำอะไร ส่วนจะหาเสียงอย่างไรก็เป็นเรื่องวิธีการของพรรคที่กำลังจัดตั้งรัฐบาล

5. บทบาทหน้าที่ กกต. : ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนมีความรู้สึกคลางแคลงใจต่อการทำหน้าทึ่ของ กกต.ยิ่งกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา กกต.จึงต้องยิ่งแสดงออกในการทำหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลและการเลือกนายกรัฐมนตรี กกต.ต้องประกาศผลการเลือกตั้งและรับรอง ส.ส. ให้คนเชื่อมั่นได้ในความเที่ยงธรรม คือเป็นไปโดยไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับพรรคหนึ่งพรรคใด

สำหรับในเรื่องคุณสมบัติต่าง ๆ ของผู้สมัคร ส.ส.นั้น หากมีผู้สมัครคนใดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนหรือมึคุณสมบัติต้องห้าม กกต.ควรต้องประกาศว่าขาดคุณสมบัติมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง หากเลือกตั้งเสร็จแล้วค่อยประกาศว่าขาดคุณสมบัติ ย่อมเป็นความบกพร่องของ กกต.และย่อมถูกมองได้ว่าอาจมีเจตนาให้คุณให้โทษกับผู้หนึ่งผู้ใด หรือพรรคหนึ่งพรรคใดได้ สิ่งที่ กกต. พึงกระทำคือหากมิใช่กรณีการทุจริตหรือคดโกงการเลือกตั้งแล้ว กกต.ควรต้องประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. และหากผู้ใดมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ หรือต้องตีความ ก็ควรให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญต่อไป ไม่พึงตัดสินเองในเรื่องที่เป็นอำนาจฝ่ายตุลาการเพราะจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมายคำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ

By admin